Free Essay

Economics

In:

Submitted By thanathat
Words 1809
Pages 8
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้เปรียบเทียบประเทศไทย
บทนำ
Term Paper ฉบับนี้ได้แสดงเนื้อหาเรื่องประวัติศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ประเทศเกาหลีใต้เปรียบเทียบกับประเทศไทยในด้านต่างๆ เนื่องจากมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่น่าสนใจระหว่างสองประเทศนี้คือ ในสมัยทศวรรษ1960 ประเทศไทยมีรายได้ต่อหัวสูงกว่าประเทศเกาหลีใต้เกือบเท่าตัวแต่ปลายทศวรรษ 1960 ประเทศเกาหลีใต้กลับมีรายได้ประชาขาติต่อหัวสูงกว่าประเทศไทยเกินกว่า1เท่าตัว และในปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้ได้เปลี่ยนจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ประเทศเกาหลีใต้ยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่(Newly Industrialized Countries:NICs)และยังถูกจัดให้เป็นกลุ่มสี่เสือแห่งเอเชีย หรือบางครั้งเรียกว่ามังกรน้อยทั้งสี่(มีประเทศใต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง) แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยได้ถูกจัดเข้าในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ และกลุ่มเสือ แล้วแต่ก็ยังเข้ากลุ่มดังกล่าวช้ากว่าประเทศเกาหลีใต้ เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงพัฒนาได้ช้ากว่าประเทศเกาหลีใต้ทั้งที่ประเทศไทยเคยมีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงกว่าประเทศเกาหลีซึ่งน่าจะแสดงให้เห็นว่าไทยเคยมีรากฐานทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าเกาหลีใต้ แต่ทำไมในปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้จึงพัฒนาเศรษฐกิจจนแซงไทยไปแล้วหลายก้าว
ในterm paper นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในการศึกษา ส่วนแรกจะกล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศประเทศเกาหลีใต้เปรียบเทียบกับไทย ตั้งแต่เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจในปี 1960 และส่วนที่สองจะกล่าวการวิเคราะห์ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับประเทศไทย ทางด้านอุปทาน โดยใช้ cobb-douglas production function นอกจากนี้จะมีการวิเคราะห์ทางด้านอุปสงค์
ซึ่งจะทำให้ได้ทราบถึงกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจโดยยึดประเทศเกาหลีใต้เป็นแบบแผน เพี่อพิจารณาข้อดี ข้อเสียจากบทเรียนของประเทศเกาหลีใต้ เพื่อให้ในการปรับปรุงและพัฒนาการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าได้ต่อไป

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศประเทศเกาหลีใต้เปรียบเทียบกับไทย ประเทศเกาหลีและประเทศไทยเริ่มมีการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติในปี 1960 ปีเดียวกัน ซึ่งระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยกับประเทศเกาหลีใต้ในทศวรรษแรกของการมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจนั้นนั้นมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน แต่หลังจากปี1969นั้นการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้ได้เริ่มเห็นความแตกต่างของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศเกาหลีใต้ได้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสิ่งที่ประเทศไทยและเกาหลีมีความแตกต่างกันในเรื่องของภูมิหลังทางสังคมกล่าวคือประเทศเกาหลีใต้มีพื้นหลังในด้านการเป็นประเทศที่ถูกรุกรานจากการทำสงครามทั้งจากประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 และสงครามระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้อีก ซึ่งการเกิดสงครามนี้เองทำให้ประเทศเกาหลีเริ่มมีความขาดแคลนในหลายด้านทั้งด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย และอีกหลายปัจจัยที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นภูมิหลังทางสังคมจึงมีส่วนผลักดันให้ชาวเกหลีใต้คนเกาหลีจึงกลายเป็นคนที่ผูกพันฝังใจกับเรื่องราวในอดีต สามารถปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์ได้ดี มีวินัยในตนเองสูง อนึ่งคนเกาหลีเป็นคนที่ชอบการแข่งขัน ไม่ยอมแพ้ต่อสิ่งใดง่ายๆ ดื้อดึง ดันทุรัง และไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด แต่ในส่วนของประเทศไทยแม้ว่าจะมีการทำสงครามแต่ก็ไม่ได้ทำให้คนไทยมีลักษณะคล้ายชาวเกาหลีเนื่องจากลักษณะของประเทศที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์และนิสัยรักสบาย มีอัธยาศัยดี ดังนั้นคนในประเทศไทยจึงไม่ต้องดิ้นรนหรือต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความอยู่รอดมากนัก ดังนั้นคนไทยจึงมีความขยัน และนิสัยรักการต่อสู้จะน้อยกว่าชาวเกาหลี ซึ่งลักษณะภูมิหลังทางสังคมที่แตกต่างกันนี้ก็ส่งผลต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเช่นกัน ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่1-3 นับว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทางการซึ่งรัฐบาลของประเทศเกาหลีในช่วงนั้นคือนายพลปัก จุง ฮี ส่วนของประเทศไทยรัฐบาลในช่วงนั้นคือจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็เริ่มต้นโดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาคล้ายกันคือ มีการขอความช่วยเหลือ และใช้เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศในการพัฒนาประเทศ โดยเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศนี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นเงินช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐอเมริกาเหมือนกัน นอกจากนี้ทั้งสองประเทศยังมีการใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศเหมือนกันคือกลยุทธ์รัฐนำ-ราษฎร์หนุน กล่าวคือให้รัฐบาลเป็นผู้นำในการพัฒนาเศรษฐกิจก่อน โดยให้ประชาชนในประเทศเป็นผู้สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ในรายละเอียดของกลยุทธ์มีรายละเอียดที่แตกต่างกันคือ แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นของการมีแผนพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจทั้งประเทศไทยและประเทศเกาหลีต่างเป็นประเทศเกษตรกรรมแต่กลยุทธ์ในการผลักดันทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงเริ่มแรกของการมีแผนพัฒนาคือเน้นการลงทุนจากภาครัฐบาลในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นทางเศรษฐกิจ เช่นระบบถนน น้ำประปา ไฟฟ้า เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างจากประเทศเกษตรกรรมให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งนโยบายที่ตามมาคือการสนับสนุนอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า และการส่งเสริมในขั้นถัดไปคือ การส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเพื่อหารายได้เข้าประเทศทำให้มีการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ประเทศไทยผลิตเองไม่ได้ทำให้ในช่วงต้นๆของแผนพัฒนาประเทศไทยขาดดุลการค้า อีกทั้งแนวคิดของนโยบายดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ปัจจัยทุนเข้มข้นอีกด้วยทำให้เกิดปัญหาแรงงานส่วนเกินจากภาคเกษตรกรรมตามมา ซึ่งแตกต่างจากนโยบายของประเทศเกาหลีใต้ในช่วงเริ่มแรกของการมีแผนพัฒนาคือ เนื่องจากภูมิหลังทางสังคมของประเทศเกิดสงครามและสร้างความเสียหายให้แก่โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเกาหลีใต้เป็นอย่างมาก แม้ว่าสงครามจะจบลงก่อนการมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจราว10ปีแล้ว แต่นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงก่อนการมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจก็ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นมากนัก ดังนั้นรัฐบาลเกาหลีใต้จึงทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ประชาชนมีกินไปวันๆโดยการสนับสนุนให้ประชาชนพึ่งตนเองโดยการเพาะปลูกพืชไว้กินเอง โดยใช้เงินบริจาคจากต่างประเทศมาช่วยเหลือให้ประชาชนที่ยากจน และส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็กให้ผลิตสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของคนในชาติ โดยส่งเสริมให้ใช้อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และส่งเสริมให้ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการทดแทนการนำเข้า ซึ่งผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในช่วงเริ่มแรกของเกาหลีทำให้เกิดธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นธุรกิจที่ประชาชนเลือกเองไม่ได้มาจากรัฐบาลเป็นผู้เลือกให้ และลักษณะของการพัฒนาจากประเทศเกษตรกรรมมาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นก็รองรับแรงานจากภาคเกษตรกรรมได้ดี และได้เปลี่ยนจากประเทศเกาหลีก็ได้เปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรมมาเป็นประเทศผู้ผลิตได้ ซึ่งการเกิดขึ้นของ SMEsจึงทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นอย่างง่ายดายเนื่องจากภูมิหลังทางสังคมที่ชาวเกาหลีใต้มีจิตใจเป็นนักสู้ ประกอบกับความขยัน และความกดดันที่ต้องดิ้นรนเพื่อการใช้ชีวิตให้อยู่รอดจากความอดอยากในอดีต อีกทั้งการที่ความเชื่อถือในลัทธิขงจื้อของชาวเกาหลีใต้ ที่ส่งเสริมให้การศึกษาเป็นการสร้างฐานะทางสังคมซี่งแตกต่างจากประเทศไทยที่ใช้ความร่ำรวยเป็นการวัดฐานะทางสังคม ทำให้ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจเริ่มแรกของเกาหลีใต้จึงมีการสะสมทุนมนุษย์มากกว่าไทย เพราะเหตุนี้รัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้จึงใช้เงินส่งเสริมในเรื่องของการศึกษาน้อยกว่าไทย แต่ประสิทธิผลของการศึกษาของประเทศเกาหลีมีประสิทธิผลมากกว่าไทยอีกด้วย ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่4-6 ในช่วงนี้ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่1-3ได้มีการสนับสนุนให้มีการใช้อุตสาหกรรมที่ใช้ปัจจัยทุนเข้มข้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับโครงสร้างของประเทศที่เป็นประเทศเกษตรกรรมที่เคยใช้แรงงานเข้มข้นมาก่อน ดังนั้นในช่วงนี้รัฐบาลไทยจึงสนับสนุนให้อุตสาหกรรมใช้แรงงานเข้มข้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการกระจายรายได้ ควบคู่ไปกับการกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาคแต่ก็ยังมีเป้าประสงค์เดิมคือส่งเสริมการส่งออก มีชาวต่างประเทศมาลงทุนในไทยมากขึ้นเนื่องจากอุปสรรคทางการค้าน้อยลง นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้มีผลิตภาพในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเพียงพอที่จะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ในส่วนของประเทศเกาหลีใต้หลังจากที่มีนโยบายใช้แรงงานเข้มข้น ในการผลิตสินค้าที่เน้นการส่งออก ต่อมามีความต้องการที่จะต้องใช้วัตถุดิบจากอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก จึงมีนโยบายที่จะฝึกแรงงานให้มีฝีมือ(skill labor)มากขึ้น และหลังจากนั้นจึงเปลี่ยนจากการอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้นมากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ปัจจัยทุนเข้มข้น นโยบายในช่วงนี้ของประเทศเกาหลีใต้จะใช้นโยบาย ราษฎร์นำ-รัฐหนุน คือให้รัฐบาลลดบทบาทในการเข้าแทรกแซงการพัฒนาเศรษฐกิจโดยปล่อยให้เป็นตามกลไกทางเศรษฐกิจมากขึ้น ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่7-9 ทั้งประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้ได้ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจ วิกฤตปี40 ประเทศไทยได้เปลี่ยนจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาเป็นการส่งเสริมการทำธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) และเน้นการสร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ในทางกลับกันประเทศเกาหลีใต้ประเทศเกาหลีใต้ได้พึ่งพิงการค้ามากจึงมีแนวคิดที่จะกระจายคู่ค้า ไม่ส่งออกไปยังประเทศใดประเทศหนึ่งมากจนเกินไป อีกทั้งยังส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น มีการทำข้อตกลงกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น และจะสังเกตได้ว่าในช่วงนี้ประเทศเกาหลีใต้มีการสร้างแบร์นประเทศ เช่น LG SUMSUNG เป็นต้นเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในสินค้าส่งออก หลังจากที่อุปทานมีพร้อมแล้ว จะสังเกตได้ว่าแนวทางในการพัฒนาประเทศของประเทศไทยจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยไม่ได้พิจารณาถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็ตามแก้ไขไปทีละจุดไม่ได้มีการวางแผนแบบบูรณาการทำให้ลักษณะการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากต้องเสียเวลาตามแก้ปัญหาที่ทำไว้ก่อน แล้วจึงพัฒนาในด้านอื่นต่อซึ่งต่างจากประเทศเกาหลีใต้ที่ดำเนินนโยบายค่อนข้างสอดคล้องกับภูมิหลังทางสังคม และเศรษฐกิจมาโดยตลอด แม้ว่าประเทศเกาหลีใต้จะเคยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเหมือนไทยแต่ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ต่างมีกลยุทธ์รองรับเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง อีกทั้งลักษณะของคนในประเทศเกาหลีที่ขยันและใฝ่รู้ ทำให้ผลงานทางด้านงานวิจัยและพัฒนามีมากกว่าคนไทย และการเผยแผ่ความรู้ของเกาหลีมีมากกว่าไทย ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการสะสมทุนในมนุษย์ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศเกาหลีจึงมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศไทย

การวิเคราะห์ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับประเทศไทย ทางด้านอุปทาน โดยใช้ cobb-douglas production function
เพื่อทราบถึงประสิทธิภาพในการใช้ปัจจัยการผลิต ในterm paper ฉบับนี้จะใช้วิธีการวิเคราะห์โดยใช้ cobb-douglas production functionของประเทศเกาหลีใต้กับประเทศไทยเป็นการวิเคราะห์ผลของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทางด้านอุปทาน(supply) ซึ่งเป็นการใช้แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนัด neo-classic ในการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี1990ถึงปี2010 ซึ่งตัวแปรที่ใช้ประกอบด้วย ปัจจัยทุน และปัจจัยแรงงานโดยสมการที่ใช้วิเคราะห์อยู่ในรูปแบบของสมการ(1)
ให้Yt = AtKtα Ltβ ---------------------------------------1
โดย Y คือ รายได้ประชาชาติที่แท้จริง(real GDP)ในปีที่t
K คือปริมาณปัจจัยทุนในปีที่t
L คือปริมาณแรงงานในปีที่t
Aคือ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในปีที่t
เนื่องจากรูปแบบของสมการ cobb-douglas production มีลักษณะเป็น Non-linear จึงปรับให้อยู่ในรูปแบบ linearทำให้เป็นสมการเส้นตรงโดยการtake logฐานธรรมชาติ (ln)ทั้ง2ข้างของสมการที่2จะได้ lnYt = ln( AtKtα Ltβ )---------------------------------------------2 lnYt=lnAt+ αlnKt+βlnLt-------------------------------------------3
เมื่อกำหนดให้มี external shocks ใน production function และกำหนดให้ a0=lnAt a1=α a2=β ดังนั้นเขียนสมการที่3ได้ใหม่เป็นสมการที่4 lnYt= a0+ a1lnKt+a2lnLt----------------------------------------------4
ประเทศเกาหลีใต้
ตารางที่3 แสดงผลการประมาณการแบบจำลองในรูป log form ของประเทศเกาหลีใต้ Regression Statistics | | Multiple R | 0.99042932 | | R Square | 0.98095024 | | Adjusted R Square | 0.9788336 | | Standard Error | 0.09008167 | | Observations | 21 | | | Coefficients | Standard Error | t Stat | P-value | Intercept | 26.0913055 | 5.572480234 | -4.682171031 | 0.000185561 | lnKt | 0.90764583 | 0.055754895 | 16.27921333 | 3.25296E-12 | lnLt | 1.74603785 | 0.387434311 | 4.506668095 | 0.000272956 |

จากตารางที่3 ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่ปรับค่า(Adjusted R Square) แสดงให้เห็นว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดในแบบจำลอง สามารถอธิบายรายได้ประชาชาติที่แท้จริง(real GDP) ได้ร้อยละ97.88336 และเมื่อพิจารณาระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่นร้อยละ95 พบว่าการสะสมทุนมีความสัมพันธ์กับรายได้ประชาชาติที่แท้จริงในทางเดียวกันคือ เมื่อมีการเพิ่มการสะสมทุนร้อยละ1 จะทำให้รายได้ประชาชาติที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ0.90764583 เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่ และจำนวนแรงงานมีความสัมพันธ์กับรายได้ประชาชาติที่แท้จริงในทางเดียวกันคือ เมื่อมีการเพิ่มแรงงานร้อยละ1 จะทำให้รายได้ประชาชาติที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ1.74603785เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่
จากตารางที่3 ได้ทำการประมาณค่าสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปร a0, a1, a2ดังนั้นเมื่อแทนค่าลงไปในสมการที่4จะได้สมการที่5 lnYt= 26.0913055+ 0.90764583lnKt+ 1.74603785lnLt-----------------5 และเมื่อทำการเปลี่ยนรูปแบบจากสมการเส้นตรงเพื่อให้กลับเป็นรูปแบบ cobb-douglas productionตามเดิมจะได้จะได้cobb-douglas production ของประเทศเกาหลีใต้เป็นดังสมการที่6
Yt = 26.0913055Kt0.90764583Lt1.74603785-------------------------------------6

ประเทศไทย
ตารางที่4แสดงผลการประมาณการแบบจำลองในรูป log form ของประเทศไทย Regression Statistics | Multiple R | 0.97284255 | R Square | 0.94642262 | Adjusted R Square | 0.94046958 | Standard Error | 0.15012418 | Observations | 21 | | Coefficients | Standard Error | t Stat | P-value | Intercept | 15.7177534 | 9.286728458 | 1.692496278 | 0.107788423 | lnKt | 1.21357419 | 0.092917435 | 13.06078017 | 1.27557E-10 | lnLt | -1.25456874 | 0.6456725 | -1.943041936 | 0.067818998 |

จากตารางที่4 ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่ปรับค่า(Adjusted R Square) แสดงให้เห็นว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดในแบบจำลอง สามารถอธิบายรายได้ประชาชาติที่แท้จริง(real GDP) ได้ร้อยละ94.642262และเมื่อพิจารณาระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่นร้อยละ95 พบว่าการสะสมทุนมีความสัมพันธ์กับรายได้ประชาชาติที่แท้จริงในทางเดียวกันคือ เมื่อมีการเพิ่มการสะสมทุนร้อยละ1 จะทำให้รายได้ประชาชาติที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ1.21357419 เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่ และจำนวนแรงงานมีความสัมพันธ์กับรายได้ประชาชาติที่แท้จริงในทางตรงกันข้ามคือ เมื่อมีการเพิ่มแรงงานร้อยละ1 จะทำให้รายได้ประชาชาติที่แท้จริงลดลงร้อยละ1.25456874เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่
จากตารางที่3 ได้ทำการประมาณค่าสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปร a0, a1, a2ดังนั้นเมื่อแทนค่าลงไปในสมการที่4จะได้สมการที่7 lnYt= 15.7177534+ 1.21357419lnKt-1.25456874lnLt-----------------7 และเมื่อทำการเปลี่ยนรูปแบบจากสมการเส้นตรงเพื่อให้กลับเป็นรูปแบบ cobb-douglas productionตามเดิมจะได้จะได้cobb-douglas production ของประเทศไทยเป็นดังสมการที่8
Yt = 15.7177534Kt1.21357419Lt-1.25456874-------------------------------------8

จากการวิเคราะห์พบว่าประเทศเกาหลีใต้มีผลผลิตต่อขนาดเพิ่มขึ้น(increasing return to scale)เนื่องจากผลรวมของสัมประสิทธิ์ของการสะสมทุนและปัจจัยแรงงานมีค่า2.65368368 ซึ่งมีค่ามากกว่า1 แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการเพิ่มปัจจัยการผลิตร้อยละ100 ผลผลิตที่ได้จากการใช้ปัจจัยการผลิตนั้นจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ100 ค่าความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีของประเทศเกาหลีใต้เท่ากับ26.0913055
ค่าผลิตภาพปัจจัยทุนหน่วยสุดท้ายของประเทศเกาหลีใต้คือสมการที่9
MPK=dYtdKt=23.6816646 Lt1.74603785 Kt0.09235417-------------------------------------9
ค่าผลิตภาพปัจจัยแรงงานหน่วยสุดท้ายของประเทศเกาหลีใต้คือสมการที่10
MPL=dYtdLt=45.556407 Kt0.90764583 Lt0.74603785----------------------------------------10
ส่วนประเทศไทยมีผลผลิตต่อขนาดลดลง(decreasing return to scale)เนื่องจากผลรวมของสัมประสิทธิ์ของการสะสมทุนและปัจจัยแรงงานมีค่า-0.040994553 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า1 แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการเพิ่มปัจจัยการผลิตร้อยละ100 ผลผลิตที่ได้จากการใช้ปัจจัยการผลิตนั้นจะเพิ่มขี้นน้อยกว่าร้อยละ100 ค่าความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีของประเทศไทยเท่ากับ15.7177534
ค่าผลิตภาพปัจจัยทุนหน่วยสุดท้ายของประเทศไทยคือสมการที่11
MPK=dYtdKt=19.07465981Kt0.21357419Lt-1.25456874----------------------------------11
ค่าผลิตภาพปัจจัยแรงงานหน่วยสุดท้ายของประเทศไทยคือสมการที่12
MPL=dYtdLt=-19.71900208Kt1.21357419Lt-2.25456874-----------------------------------12

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะพบว่าความแตกต่างระหว่างในด้านความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีและประเทศไทยแตกต่างกันในหลายด้าน ดังนี้
1.ด้านความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
ประเทศเกาหลีใต้มีค่าความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี26.0913055 ซึ่งมีค่ามากกว่าประเทศไทย โดยประเทศไทยมีค่าความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเพียงแค่15.7177534 แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการผลิตของประเทศไทยยังด้อยกว่าประเทศเกาหลีใต้ ดังนั้นจึงทำให้ประเทศไทยพัฒนาได้ช้ากว่าประเทศเกาหลีใต้ โดยสาเหตุที่ประเทศไทยมีค่าความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีน้อยกว่าประเทศเกาหลีใต้อาจเป็นเพราะการส่งเสริมทางด้านการวิจัยใหม่ๆ การถ่ายทอดนวัตกรรมใหม่ๆจากผู้ที่คิดค้นได้ ไปสู่การปรับกระบวนการผลิตของประเทศไทยยังคงมีน้อยกว่าประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยเพิ่มเติมพบว่าการส่งเสริมทางด้านการวิจัยพัฒนามีนัยสำคัญต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศเกาหลีใต้มีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อGDP แล้วมากกว่าประเทศไทยมาโดยตลอด โดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี1996-2008 ประเทศเกาหลีใต้มีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาคิดเป็น2.631816เปอร์เซ็นต์ของGDP ส่วนประเทศเทยมีเพียงแค่ 0.222918 เปอร์เซ็นต์ของGDP 2.ด้านผลิตภาพของปัจจัยทุนหน่วยสุดท้าย
ประเทศเกาหลีใต้มีค่าผลิตภาพปัจจัยทุนหน่วยสุดท้ายเท่ากับ23.6816646 Lt1.74603785 Kt0.09235417ส่วนประเทศไทยมีค่าค่าผลิตภาพปัจจัยทุนหน่วยสุดท้ายเท่ากับ 19.07465981Kt0.21357419Lt-1.25456874จะเห็นได้ว่าสัดส่วนค่าผลิตภาพปัจจัยหน่วยสุดท้ายของประเทศเกาหลีใต้ต่อประเทศไทยมีค่าเท่ากับMPKเกาหลีใต้MPKไทย =1.241525Kt0.709968Lt3.000607ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศเกาหลีใต้ยังคงมีผลิตภาพปัจจัยทุนหน่วยสุดท้ายมากกว่าประเทศไทย กล่าวคือถ้าใส่ปัจจัยทุนเพิ่มเข้าไปในกระบวนการการผลิตเพิ่มขึ้น1หน่วยเท่ากัน ผลผลิตของประเทศเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นมากกว่าประเทศไทย1.241525Kt0.709968Lt3.000607เท่า ดังนั้นจึงทำให้ประเทศเกาหลีใต้พัฒนาได้เร็วกว่าประเทศไทยซึ่งสาเหตุที่ประเทศเกาหลีใต้มีผลิตภาพปัจจัยทุนหน่วยสุดท้ายมากกว่าประเทศไทยเนื่องจากการที่ประเทศเกาหลีใต้มีการส่งเสริมทางด้านงานวิจัยมากกว่าประเทศไทยจึงทำให้ปัจจัยทุนของประเทศเกาหลีใต้มีผลิตภาพมากกว่าประเทศไทย

3.ด้านผลิตภาพแรงงานหน่วยสุดท้ายของปัจจัยการผลิต
ประเทศเกาหลีใต้มีค่าผลิตภาพปัจจัยแรงงานหน่วยสุดท้ายเท่ากับ 45.556407 Kt0.90764583 Lt0.74603785กล่าวคือถ้าประเทศเกาหลีใต้ใส่ปัจจัยแรงงานเพิ่มเข้าไปในกระบวนการการผลิตเพิ่มขึ้น1หน่วย ผลผลิตของประเทศเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้น45.556407 Kt0.90764583 Lt0.74603785 หน่วย ส่วนประเทศไทยมีค่าค่าผลิตภาพปัจจัยแรงงานหน่วยสุดท้ายเท่ากับ-19.71900208Kt1.21357419Lt-2.25456874 แสดงให้เห็นว่าถ้าประเทศไทยใส่ปัจจัยแรงงานซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตเพิ่มเข้าไปในกระบวนการการผลิตเพิ่มขึ้น1หน่วย แล้วจะทำให้ผลผลิตของประเทศไทยลดลง19.71900208Kt1.21357419Lt-2.25456874 หน่วยค่าผลิตภาพปัจจัยแรงงานหน่วยสุดท้ายของประเทศเกาหลีใต้มากกว่าประเทศไทย ดังนั้นการพัฒนาประเทศของประเทศไทยจึงยังไม่ควรใช้แรงงานเป็นปัจจัยในการพัฒนาแต่สำหรับประเทศเกาหลีแล้วสามารถใช้แรงงานเป็นปัจจัยในการพัฒนาประเทศต่อไปได้ ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยเพิ่มเติมพบว่าการส่งเสริมทางด้านการสะสมทุนมนุษย์คือการเน้นการศึกษา มีนัยสำคัญต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการศึกษาจะทำให้ค่าจ้างของแรงงานสูงขึ้น เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการกระจายรายได้อีกด้วย ซึ่งจะพบว่าประเทศเกาหลีใต้มีการให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษามากกว่าไทย เนื่องจากภูมิหลังทางสังคมของชาวเกาหลีใต้ที่เชื่อในลัทธิขงจื้อ ที่ยกย่องการศึกษา ซึ่งแม้ว่าประเทศเกาหลีใต้จะมีค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาต่อคนโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี1971-2010 ในระดับชั้นประถมเท่ากับ14.76%ของGDPต่อหัวซึ่งมากกว่าประเทศไทยที่มีค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาต่อคนในระดับชั้นประถมเท่ากับ13.24%ของGDPต่อหัว แต่ค่าใช้จ่ายการศึกษาต่อคนในระดับชั้นมัธยมศึกษาของประเทศไทยมากกว่าประเทศเกาหลีใต้ กล่าวคือประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาต่อคนในระดับชั้นมัธยมและอุดมศึกษาเท่ากับ19.12% และ 61.44% ของGDPต่อหัว ตามลำดับ ส่วนประเทศเกาหลีใต้มีค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาต่อคนในระดับชั้นมัธยมและอุดมศึกษาเพียงแค่14.75% และ 18.22% ของGDPต่อหัว ตามลำดับ ซึ่งแม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วประเทศไทยจะมีการลงทุนในเรื่องการศึกษามากกว่าประเทศเกาหลีใต้ แต่จะพบว่าประสิทธิผลที่วัดจากผลิตภาพแรงงานของประเทศไทยยังคงด้อยกว่าประเทศเกาหลีใต้ ดังนั้นมิได้หมายความว่าถ้ามีค่าใช้จ่ายทางการศึกษามากๆแล้วจะทำให้ประเทศมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้นตามจำนวนค่าใช้จ่ายทางการศึกษา แต่การศึกษาจะทำให้ประเทศมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ถ้าวัดที่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา อันจะนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงานซึ่งจะส่งผลต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอีกต่อหนึ่ง

การวิเคราะห์ปัจจัยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับประเทศไทย ทางด้านอุปสงค์
นอกจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะวัดผลจากทางด้านอุปทานได้แล้วนั้นยังมีการศึกษาวิจัยผลของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทางด้านอุปสงค์ เช่นอุปสงค์การส่งออก ทั้งประเทศไทยและเกาหลีใต้ ในปัจจุบันต่างเป็นประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งมีนัยสำคัญต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการส่งออกสุทธิปี1960-1982 ประเทศไทยยังคงมีสัดส่วนการส่งออกสุทธิเทียบกับGDPมากกว่าประเทศเกาหลีใต้ แต่ในช่วงปี 1982-1997 ประเทศเกาหลีใต้มีสัดส่วนการส่งออกสุทธิเทียบกับGDPมากกว่าไทย แต่หลังจากปี1997ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ประเทศไทยคุ้นเคยกับคำว่าวิกฤตปี40 ทั้งประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้ต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าว ซึ่งประเทศไทยมีการปรับโครงสร้างทำให้สัดส่วนการส่งออกสุทธิเทียบกับGDPของประเทศไทยมากกว่าประเทศเกาหลีใต้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วตั้งแต่ปี1960-2011 ประเทศไทยมีการสัดส่วนการขาดดุลการค้าเทียบกับGDPน้อยกว่าประเทศเกาหลีใต้ แต่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงมีน้อยกว่าประเทศเกาหลีใต้อยู่มาก
ในทางทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจจะพบว่าการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศจะมีผลทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย พบว่าการส่งเสริมทางด้านการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ(FDI) มีนัยสำคัญต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้ต่างใช้การสนับสนุนการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศเหมือนกัน แต่มีจุดที่น่าสนใจคือแม้ว่ามูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของประเทศไทยโดยเฉลี่ยจะมีมูลค่ามากกว่าประเทศเกาหลีใต้ กล่าวคือการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี1976-2011 คิดในรูปของreal GDPของประเทศเกาหลีใต้มีเพียง2,245,830,555.56 ชิ้น แต่ประเทศไทยมี3,300,398,822.59ชิ้น แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้มีมากกว่าไทยหลายเท่าตัว

บทสรุป
แม้ว่าประเทศไทยจะมีความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจทางด้านอุปสงค์ได้ดีกว่าประเทศเกาหลีใต้ที่วัดจากสัดส่วนการส่งออกเทียบกับGDP แต่ทางด้านอุปทานแล้วประเทศเกาหลีใต้มีความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าประเทศไทย ทั้งในเรื่อง ค่าความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ผลิตภาพปัจจัยทุนหน่วย และผลิตภาพแรงงานหน่วยสุดท้าย ซึ่งจะเห็นได้ว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้จะเน้นการสร้างทางด้านsupply ที่ให้สอดคล้องกับภูมิหลังทางสังคมของประเทศเกาหลีใต้ โดยใช้จุดแข็งของประเทศมาพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ แรงงานที่ขยัน อดทน กล้าต่อสู้ อันเนื่องมาจากภูมิหลังของประเทศที่เกิดสงครามมาก่อนที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด และทางด้านการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ที่เริ่มแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจนั้นจึงเน้นให้เกิดอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น แล้วค่อยพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ปัจจัยทุนเข้มข้น แล้วพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนขึ้นไปกว่าเดิม ซึ่งจะพบว่ารูปแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจสอดคล้องกับลักษณะทางสังคม แต่ในส่วนของประเทศไทยแล้วการพัฒนาเศรษฐกิจที่เริ่มต้นเน้นการใช้ปัจจัยทุนเข้มข้นในการผลิตเลย แต่ลักษณะสังคมในตอนนั้นยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม ลักษณะที่ใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกก็อาจมีนโยบายไม่สอดคล้องกับลักษณะทางสังคมเท่าไรนัก เนื่องจากการเน้นการใช้ปัจจัยทุนเป็นปัจจัยการผลิตจะต้องใช้แรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้นจากแต่ก่อน ซึ่งสังคมไทยในสมัยนั้นไม่ค่อยได้เน้นเรื่องการศึกษาเท่าไรนัก ซึ่งเกิดปัญหาตามมาภายหลัง คือความเหลี่อมล้ำทางด้านการกระจายรายได้ แล้วต่อมาจึงค่อยมีนโยบายเน้นการพัฒนาคน เมื่อเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปได้ช้ากว่าประเทศเกาหลีใต้

Term paper
การพัฒนาเศรษฐกิจ(Economic Development)
01101311
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้เปรียบเทียบกับประเทศไทย
2 ธันวาคม 2555
ธนวัต เกตุสิน

ภาคผนวก ตารางที่1 แสดงมูลค่าการค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของGDP ของประเทศเกาหลีใต้ และประเทศไทยตั้งแต่ปี1996-2008

ตารางที่2 แสดงมูลค่าการส่งออกสุทธิคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของGDP ของประเทศเกาหลีใต้ และประเทศไทยตั้งแต่ปี1980-2011

ตารางที่3 แสดงมูลค่าการลงทุนสุทธิจากต่างประเทศ(ดอลล่าร์สหรัฐ) ของประเทศเกาหลีใต้ และประเทศไทยตั้งแต่ปี1980-2011

บรรณานุกรม
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เกาหลีใต้: ตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการสร้างแบรนด์ประเทศ :(ออนไลน์) สืบค้นได้
จากhttp://www.drdancando.com/index.php?option=com_content&view=article&id=95:south-korea-an-economic-development-by-creating-a-national-brand&catid=35:article-&Itemid=67
ดำรงค์ ฐานดีคนเกาหลี : มุมมองจากคนภายใน(Koreans: “Emic” View on Korean Stereotype) 20 เมษายน 2555
ดำรงค์ ฐานดี .ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสาธารณรัฐเกหลี : (ออนไลน์) สืบค้นได้จากhttp://www.ru.ac.th /korea/article1/article16.pdf
มานพ อุดมเกิดมงคลและคณะ “การพัฒนาการเงินกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ” สัมมนาวิชาการประจำปี2555: กันยายน2555 ธนาคารแห่งประเทศไทย : (ออนไลน์) สืบค้นได้จากhttp://www.bot.or.th/Thai/
EconomicConditions/Semina/symposium/2555/Paper_5_ChoosingRightFinancialSystemGrowth.pdf
โยะชิฮะระ คุนิโอะ.ชาติและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เกาหลีและไทย: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ,
ปีที่พิมพ์2546
สุนทร ธารพิพิธชัย และคณะ . เกาหลีใต้(korea) : (ออนไลน์) สืบค้นได้จากhttp://xa.yimg.com/kq /groups/23038156/1112209518/name/Korea+final+V05.pdf
สุมาลี สันติพลวุฒิและ จีรศักดิ์ พงษ์พิษณุพิจิตร์ .รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาสถานะและแนวทางการพัฒนา
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มงานสร้างสรรค์ตามลักษณะงาน: ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ,ปีที่พิมพ์ 2553
อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์.รายงานการวิจัยเรื่อง ทุนทางวัฒนธรรมในแบบจำลองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ::
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ, ปีที่พิมพ์2553
Bangkok bank research department. กลยุทธ์อุตสาหกรรมไทย มิติใหม่ในเกาหลีใต้ จีน อินเดีย เรียนรู้จากผู้นำ ก้าวล้ำสู่
การหลอมรวม: (ออนไลน์) สืบค้นได้จาก http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/
Brahmasrene and team.Capital mobility in asia : evidence from bounds testing of cointetration between savings and investment: available form journal of the Asia pacific Economy,Vol.14 No3, August 2009
(online)httpwww.econ.nida.ac.thimagesphocadownloaduseruploadkomainCapital%20mobility%20in%20Asia .pdf
Hyunbae Chun,Hak K pyo, Keun Hee Rhee. Total factor productivity in Korea and international comparison May 2008
Kanokwan Chancharoenchai.Study of Economic growth in Thai ecnomy:from journal of international development and cooperation,vol.17 No2,2011
Komain Jiranyakul.The link between output growth and output volatility in five crisis affected Asian countries: available form httpwww.econ.nida.ac.thimagesphocadownloaduseruploadadminKomain-MEFE2011.pdf
Michael P. Todaro, Stephen C. Smith, Michael P. Economic development: Harlow : Addison Wesley, c2009
Sauwaluck Koojaroenprasit. The impact of foreign direct investment on economic growth : A case study of South Korea from international journal of business and social science vol.3 No21 November 2012[cited7 January 2013] available form(online) http://www.ijbssnet.com
Sumalee santipolvot and Kanchana Sripruekiat.Development of Community in Thailand: available from
2012shanghai international conference on social science.14-17 august.2012
World bank Asia country department2.desision and change in Thailand : [cited7 January 2013] available form(online)www.BusinessBanking/RatesAndReports/Reports/EconomicNewsAndResearch/Documents/SR_ IndustryStrategy_250912_TH.pdf

ตารางที่4 แสดงรายได้ประชาชาติที่แท้จริง(Y) ปริมาณการสะสมทุน(K) จำนวนแรงงาน(L) ของประเทศเกาหลีใต้และประเทศไทย ปี | ประเทศเกาหลีใต้ | ประเทศไทย | | Y | K | L | Y | K | L | 1990 | 69,550,812,363.92 | 26,091,073,173.30 | 19,162,342.74 | 22,502,676,312.15 | 9,305,703,452.52 | 32,477,536.71 | 1991 | 90,686,432,486.35 | 36,031,372,893.97 | 19,612,540.94 | 28,906,515,608.53 | 12,383,949,773.55 | 32,424,459.85 | 1992 | 156,616,459,049.89 | 58,404,697,044.05 | 20,009,684.72 | 52,913,253,625.45 | 21,146,224,107.20 | 32,155,262.91 | 1993 | 165,178,861,777.43 | 59,021,216,698.51 | 20,290,716.84 | 57,020,395,864.71 | 22,813,727,985.40 | 31,804,519.86 | 1994 | 207,970,837,630.19 | 76,855,292,752.25 | 20,870,276.73 | 70,877,294,145.41 | 28,530,596,913.81 | 31,399,277.58 | 1995 | 222,277,787,750.61 | 83,725,264,822.69 | 21,432,526.77 | 72,221,009,213.31 | 30,400,953,559.86 | 32,067,695.41 | 1996 | 314,923,419,783.88 | 122,419,634,399.86 | 21,900,502.93 | 102,753,030,243.11 | 42,967,430,136.37 | 32,816,961.44 | 1997 | 267,813,784,096.40 | 96,335,624,050.31 | 22,369,127.49 | 78,272,603,607.41 | 26,349,329,478.58 | 33,540,537.06 | 1998 | 245,886,007,992.70 | 61,464,035,558.57 | 21,995,299.20 | 79,624,039,333.12 | 16,280,785,666.44 | 33,791,024.90 | 1999 | 303,758,456,901.84 | 88,464,855,545.31 | 22,224,402.83 | 83,632,418,853.67 | 17,144,714,845.35 | 33,872,731.71 | 2000 | 246,511,648,064.42 | 75,339,712,769.30 | 22,664,505.43 | 56,719,364,469.61 | 12,952,539,482.58 | 34,805,019.90 | 2001 | 222,569,332,148.45 | 64,905,531,759.74 | 22,971,558.80 | 50,962,316,813.74 | 12,281,064,774.59 | 35,654,192.41 | 2002 | 354,661,442,367.88 | 103,549,791,239.77 | 23,388,559.40 | 78,131,780,164.57 | 18,596,524,279.43 | 36,177,851.21 | 2003 | 305,611,702,620.61 | 91,342,244,503.78 | 23,377,727.40 | 67,715,166,621.14 | 16,907,423,857.39 | 36,618,774.56 | 2004 | 256,799,473,798.63 | 76,866,981,555.49 | 23,810,216.97 | 57,386,971,358.47 | 15,374,494,725.63 | 37,342,241.67 | 2005 | 254,533,318,502.26 | 75,563,828,321.46 | 23,949,870.41 | 53,129,852,320.73 | 16,705,234,854.18 | 37,902,026.58 | 2006 | 295,033,766,915.14 | 87,394,776,325.54 | 24,173,904.82 | 64,194,052,994.55 | 18,165,184,382.81 | 37,977,106.02 | 2007 | 361,916,384,561.82 | 106,501,329,171.16 | 24,447,717.99 | 85,190,538,717.46 | 22,519,161,330.98 | 38,821,122.46 | 2008 | 421,192,236,881.57 | 131,459,510,810.99 | 24,550,819.41 | 123,263,239,424.83 | 35,899,309,136.32 | 39,120,013.37 | 2009 | 633,585,931,878.78 | 166,486,352,137.06 | 24,547,227.60 | 200,325,691,589.97 | 42,550,961,959.15 | 38,638,033.98 | 2010 | 1,436,871,516,641.88 | 424,261,770,949.46 | 24,898,258.49 | 451,506,722,010.50 | 117,098,611,229.82 | 39,383,538.52 |
ที่มา: ดัดแปลงข้อมูลจาก world bank (สืบค้นจาก http://data.worldbank.org/topic/economic-policy-and-external-debt)
ที่มา: ดัดแปลงข้อมูลจาก world bank (สืบค้นจาก http://data.worldbank.org/topic/economic-policy-and-external-debt)

ทำการปรับข้อมูลให้อยู่ในรูป log ฐานธรรมชาติ(ln)แสดงดังตารางที่2
ตารางที่5 แสดงการปรับข้อมูลจากตารางที่1 ให้เป็นข้อมูลในรูป log ฐานธรรมชาติ(ln) ปี | ประเทศเกาหลีใต้ | ประเทศไทย | | lnY | lnK | lnL | lnY | lnK | lnL | 1990 | 24.96532 | 23.98486 | 16.76846 | 23.8369 | 22.95389 | 17.29606 | 1991 | 25.23067 | 24.30766 | 16.79168 | 24.08733 | 23.23967 | 17.29442 | 1992 | 25.77707 | 24.79066 | 16.81173 | 24.69192 | 23.77473 | 17.28609 | 1993 | 25.83029 | 24.80116 | 16.82567 | 24.76667 | 23.85063 | 17.27512 | 1994 | 26.06066 | 25.06519 | 16.85384 | 24.98422 | 24.07424 | 17.2623 | 1995 | 26.12719 | 25.15081 | 16.88042 | 25.003 | 24.13774 | 17.28336 | 1996 | 26.4756 | 25.53072 | 16.90202 | 25.35559 | 24.48371 | 17.30646 | 1997 | 26.31356 | 25.2911 | 16.92319 | 25.08346 | 23.99471 | 17.32827 | 1998 | 26.22813 | 24.84172 | 16.90634 | 25.10058 | 23.51325 | 17.33571 | 1999 | 26.4395 | 25.20587 | 16.9167 | 25.1497 | 23.56496 | 17.33812 | 2000 | 26.23068 | 25.04527 | 16.93631 | 24.76138 | 23.28456 | 17.36527 | 2001 | 26.1285 | 24.8962 | 16.94977 | 24.65435 | 23.23132 | 17.38938 | 2002 | 26.59443 | 25.36332 | 16.96776 | 25.08166 | 23.64624 | 17.40396 | 2003 | 26.44558 | 25.23788 | 16.96729 | 24.93858 | 23.55102 | 17.41607 | 2004 | 26.27156 | 25.06534 | 16.98563 | 24.77308 | 23.45598 | 17.43564 | 2005 | 26.2627 | 25.04824 | 16.99147 | 24.696 | 23.53899 | 17.45052 | 2006 | 26.41036 | 25.1937 | 17.00078 | 24.88518 | 23.62277 | 17.45249 | 2007 | 26.61468 | 25.39142 | 17.01205 | 25.16816 | 23.83763 | 17.47448 | 2008 | 26.76636 | 25.60196 | 17.01626 | 25.53759 | 24.30398 | 17.48214 | 2009 | 27.17466 | 25.83818 | 17.01611 | 26.02321 | 24.47397 | 17.46975 | 2010 | 27.99349 | 26.77362 | 17.03031 | 26.83586 | 25.48628 | 17.48886 |
ที่มา จากการคำนวณ

ประวัติศาสตร์และปรัชญาการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้
ประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลีใต้
ในต้นคริสต์ศตวรรษที่15 ชาวเกาหลีมีดินแดนเป็นของตนเองที่กว้างใหญ่ชื่อว่า “โชซอน” ซึ่งมีการปกครองโดยระบอบจักรพรรดิ เน้นทางด้านศักดินา เจ้าขุนมูลนายเป็นหลัก แต่ในช่วงศตวรรษที่ 17 เกิดขบวนการชิลฮัก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มปัญญาชนในการสร้างชาติแบบใหม่ที่จะปรับปรุงด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ควบคู่ไปสู่การปฏิรูปที่ดินครั้งใหญ่แต่รัฐบาลสมัยนั้นก็ดำเนินการปฎิบัติอย่างเป็นกลางโดยนำเอาแนวคิดของกลุ่มปัญญาชนมาปฏิบัติบางส่วน ในศตวรรษที่19 ชาติตะวันตกมีแนวคิดเรื่องการล่าอาณานิคม จึงมีการแข่งขันกันยึดครองประเทศต่างๆ โดยในปี1910 ประเทศญี่ปุ่นได้ผนวกเกาหลี ปกครองในฐานะประเทศอาณานิคม ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นชนะสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ยิ่งเป็นการทำให้ชาวเกาหลีโกรธแคล้นชาวญี่ปุ่น และมีความรักชาติมากยิ่งขึ้น แต่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 ประเทศญี่ปุ่นได้แพ้สงครามโลกครั้งที่2 ชาวเกาหลีจึงมีโอกาสต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพอย่างจริงจัง แต่ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงสงครามเย็นได้มีการต่อสู้โดยการใช้อุดมการณ์ โดยประเทศสหรัฐอเมริกาใช้แนวคิดแบบทุนนิยม ซึ่งเข้ามาทางตอนใต้ของประเทศเกาหลี และแนวคิดของสหภาพโซเวียตเข้าแผ่อิทธิพลในเรื่องของคอมมิวนิสต์มาทางตอนเหนือของประเทศเกาหลี ซึ่งความแตกต่างระหว่างแนวคิดของทุนนิยมเสรีและคอมมิวนิสต์ที่ค่อนข้างขัดแย้งกันนี้นำมาซึ่งความแตกแยกของเกาหลี จนมีการทำสงครามระหว่างเกาหลีทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ และท้ายที่สุดจึงมีการแบ่งประเทศเกาหลีเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี(เกาหลีเหนือ)และสาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้)ซึ่งสงครามเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้สินสุดลงในปี1953
ในช่วงแรกของประเทศเกาหลีใต้มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ แต่ไม่นานก็ถูกปฏิวัติให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งประเทศเกาหลีใต้มีระบบราชการส่วนกลางแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจกัน นอกจากนี้ประเทศเกาหลียังมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นซึ่งมีพระราชบัญญัติการปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ปี1949 ซึ่งในการปกครองส่วนท้องถิ่นนี้ได้มีการให้อำนาจในการบริหารและอำนวยการปกครอง และอื่นๆที่ได้รับตามกฎหมาย เช่น การจัดสินทรัพย์ การจัดสวัสดิการสาธารณะ การเก็บภาษีท้องถิ่น การจัดการศึกษา การดูแลวัฒนธรรมของชุมชนด้วย ปรัชญาการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้
ประเทศเกาหลีใต้มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจมาจากภาคเกษตรกรรม แต่มีอุปสรรคในการทำการเกษตรเนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศเกาหลีใต้มีลักษณะเป็นเชิงเขา ในช่วงที่มีการทำสงครามระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้สร้างความเสียหายแก่ประเทศเป็นอย่างมากรวมทั้งการทำลายหน้าดินเพาะปลูกส่งผลทำให้ผืนดินยิ่งไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากยิ่งขึ้น แม้ว่าในปี1936สมัยรัฐบาลประธานาธิบดีปักจุงฮี ได้ยึดงานด้านอำนาจนิติบัญญัติ และตุลาการ แต่ก็ทำให้ประเทศสามารถมีรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีนโยบายการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งการพัฒนาอุสาหกรรมนี้ประเทศเกาหลีใต้ได้พื้นฐานแนวคิดมาจากทุนนิยมของประเทศสหรัฐอเมริกาในการให้เงินช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารแก่ประเทศเกาหลีเหนือ
เนื่องจากประเทศเกาหลีใต้ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนและปรัชญาเต๋าที่เน้นให้คุณค่าแก่ความเป็นมนุษย์ และประเทศเกาหลีใต้ได้เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศญี่ปุ่นมาก่อนราว35ปี ซึ่งสิ่งนี้ทำให้คนเกาหลีใต้มีแรงกระตุ้นในการทำงานอย่าขยันขันแข็ง นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นได้วางรากฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมไว้ เช่น การนำเอาข้าวพันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตสูง การพัฒนาผลิตภาพทางการเกษตรและปศุสัตว์ นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นได้สร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่นทางรถไฟ ท่าเรือ มีการสร้างโรงงานที่ทันสมัย ฯลไว้ ทำให้หลังจากที่ญี่ปุ่นยกกองทัพออกจากประเทศเกาหลี จึงมีการปฏิรูปที่ดินในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดี ปัก จุงฮี แม้ว่าจะไม่ได้เป็นการให้เอกชนดำเนินงานโดยเสรี แต่จะออกแนวทางการแทรกแซงโดยภาครัฐบาลมากกว่า แต่ว่าการบริหารบ้านเมืองแบบรัฐบาลแทรกแซงในช่วงนี้ ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้เป็นอย่างมากเช่นการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการกระจายรายได้ โดยการนำเอาที่ดินที่ในอดีตชาวญี่ปุ่นเคยครอบครองมาจัดสรรใหม่ นอกจากนี้ยังมีการบังคับให้ชาวพื้นเมืองยอมขายที่ดินในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดเป็นอย่างมาก ซึ่งการกระทำครั้งนี้ถือว่าเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการกระจายรายได้เป็นอย่างมาก การทำให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างตัวเมืองและชนบท เช่น นโยบายพยุงราคาสินค้าเกษตร หรือนโยบายควบคุมราคาสินค้าประเภทอาหารให้มีราคาถูก ในช่วงที่ราคาสินค้ามีราคาสูง โดยเฉพาะตอนที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว
การพัฒนาอุสาหกรรม
ในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีปัก จุงฮีได้เน้นการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลพึงปรารถนาเท่านั้นเช่น มีการให้เครดิตโดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำมากๆ มีการส่งเสริมให้มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีการลงโทษอุตสาหกรรมที่รัฐบาล ปัก จุงฮี ไม่ปรารถนา เช่นการไม่ได้รับการต่ออายุของธุรกิจ หรือการเพิกเฉยในการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจเหล่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่ารัฐบาลปัก จุงฮี ได้เข้าแทรกแซงสถาบันการเงินด้วย ประเทศเกาหลีได้ใช้มาตรการทางการคลังเช่นการลดภาษีสำหรับโครงการที่รัฐบาลสนับสนุนดังนั้นจะเห็นได้ว่าอัตราการขยายตัวอุตสาหกรรมในช่วงนี้มักจะเป็นการขยายขนาดอุตสาหกรรม มากกว่าการอัตราการขยายจำนวนอุตสาหกรรม ทำให้อุตสาหกรรมในช่วงนี้เหมือนมีลักษณะของการเป็นตลาดผูกขาด มากกว่าตลาดแข่งขันสมบูรณ์ อันเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลทำให้ขาดการแข่งขันกันเท่าที่ควรแต่สิ่งนี้ถือเป็นแรงจูงใจให้ธุรกิจพัฒนาอุตสาหกรรมให้มีผลิตภาพมากยิ่งขึ้นเนื่องจากมีกำไร และอุปสรรคในการแข่งขันน้อย
ประเทศเกาหลีใต้ได้เริ่มโครงการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจโดยการปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเสรีเพื่อให้มีความคล่องตัวทางการเงินของการส่งออก และทำให้วิธีด้านศุลกากรสะดวกขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งประเทศเกาหลีเหนือได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 1962เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างมีแบบแผนที่ค่อนข้างแน่ชัด ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจในฉบับแรกนี้จะเน้นเรื่องการลงทุนพื้นฐานซึ่งยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่ทางภาครัฐบาลต้องการ ซึ่งเป้าหมายของรัฐบาลก็ยิ่งเพื่มขึ้นเรื่อยซึ่งการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมนี้ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้งผลกระทบจากภายนอกคือวิกฤตราคาน้ำมันแพง สิ่งนี้ยิ่งทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเข้าไปอีก ดังนั้นผลตอบแทนจากการออมจึงต่ำทำให้แรงจูงใจที่จะออมของภาคครัวเรือนมีน้อย นำมาซึ่งความขาดแคลนเงินทุน และจึงมีแนวคิดคือต้องมีการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศแต่จะขัดแย้งกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเนื่องจากการที่อัตราดอกเบี้ยต่ำประกอบกับเกิดภาวะเงินเฟ้อ สิ่งนี้ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำมากๆ จึงเกิดเงินทุนไหลออกนอกประเทศเกาหลีใต้ในระยะเวลาต่อมาภาครัฐบาลจึงนโยบายการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น แต่ก็ทำเพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆเพี่อบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อ และปัญหาเงินทุนไหลออก ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ตามมาคือปัญหาการย้ายเงินทุนจากภาคธนาคารไปสู่ตลาดเงินที่ไม่ได้มีการจัดตั้งอย่างถูกต้อง
ทำให้ช่วงเวลานั้นมีการจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก กล่าวง่ายๆคือประเทศเกาหลีใต้ใช้นโยบายการให้อัตราดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ออม เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายใหญ่ อีกทั้งปัญหาการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากภาคธนาคารไปสู่ตลาดเงินที่ไม่ได้มีการจัดตั้งอย่างถูกกฎหมายนั้นก็ยิ่งเป็นการทำให้การปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่มากขึ้นไปอีก รวมทั้งนโยบายเงินเฟ้อก็เป็นการบังคับการให้กู้ ก็เป็นการช่วยสนับสนุนผู้ประกอกบการรายใหญ่ด้วยเช่นกัน กล่าวได้ว่าประเทศเกาหลีในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีปัก จุงฮีให้ความสำคัญต่อความเจริญเติบโตทางเศรฐกิจมากกว่าการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (ในสมัยรัฐบาล ปัก จุงฮี อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นประมาณ 40%)
หลังจากที่ประธานาธิดี ปัก จุงฮี ถูกลอบสังหารจึงมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ซึ่งดำเนินนโยบายต่างจากประธานาธิบดีปัก จุงฮี กล่าวคือรัฐบาลชุดใหม่มีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมจากอุตสาหกรรมเบาเป็นอุตสาหกรรมหนัก และเน้นบทบาทการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชนมากกว่าการแทรกแซงโดยภาครัฐบาล ซึ่งแต่เดิมโครงสร้างจากอุตสาหกรรมเบา เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสิ่งทอ ไม้อัด การแปรรูปอาหาร ฯลฯ นี้ถือว่าประสบความสำเร็จทางด้านการจ้างงานและการส่งออกเป็นอย่างดี แต่ปลายปี1977 ประเทศเกาหลีใต้เปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมเบาเป็นอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมเคมี เหล็ก ก่อสร้าง การต่อเรือ อีเล็กทอนิกส์ ฯลฯ ซึ่งนโยบายเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมนี้เนื่องมาจาก ทางภาครัฐเห็นว่าในตอนนั้นแรงงานค่อนข้างมีทักษะและความรู้ อยู่มากมายโดยมีโอกาสที่จะเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้ แต่ทว่าเหมือนรัฐบาลประเทศเกาหลีดำเนินนโยบายผิดพลาดตรงที่มีการเร่งให้มีการผลิตอุตสาหกรรมหนักตอนที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในตอนนั้นประเทศเกาหลีได้พึ่งพิงการส่งออกเป็นอย่างมากแต่ทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์ต่างประเทศมีน้อย อีกทั้งการที่ปรับโครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีการใช้ปัจจัยทุนและเทคโนโลยีสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจมีต้นทุนที่สูงมีโอกาสแข่งขันกับธุรกิจประเทศอื่นได้น้อย ทำให้เศรษฐกิจในช่วงนั้นชะลอตัว แต่อัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกในสมัยประธานาธิบดีชุน ดู ฮวานได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการระงับโครงการขนาดใหญ่ การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งโครงการที่รัฐบาลสนับสนุน และโครงการที่รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน มีการส่งเสริมให้กลไกตลาดทำงาน และประกาศว่าธนาคารจะเป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐ เพี่อให้ระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การพัฒนาการเกษตร
หลังจากที่ส่งครามโลกครั้งที่2 ได้ยุติลง ประกอบกับสงครามระหว่างประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ทำให้พื้นที่ในการทำเกษตรเสียหายอย่างมากดังนั้นสัดส่วนในการผลิตสินค้าเกษตร และ แรงงานในภาคการเกษตรค่อนข้างมีน้อย อีกทั้งนโยบายของทางภาครัฐบาลเน้นเรื่องการสนับสนุนให้โรงงานไปตั้งอยู่ตามชนบท เพื่อลดการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมในตัวเมือง และต้องการให้คนในเมืองมาทำงานที่ชนบทมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ดีทางภาครัฐบาลสามารถทำให้รายได้ของครอบครัวเกษตรกรมีความเท่าเทียมกับกลุ่มแรงงานในเมือง ซึ่งรัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากในการจ่ายค่าผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวเจ้า ข้าวบาเลย์ แล้วนำเอาพืชดังกล่าวมาขายให้กับผู้บริโภคในราคาถูก การพัฒนาการเกษตรในช่วงแรกจึงเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้นการพัฒนาการเกษตรในระยะเวลาต่อมาคือการพยายามเพิ่มผลตลิตจากที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัด มีการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช มีการพัฒนากำลังการผลิตให้มากพอแก่ความต้องการของเกษตรกร มีการส่งเสริมให้ใช้เครื่องจักรกลในการเพาะปลูกมากยิ่งขึ้น
การส่งเสริมการส่งออก
ประเทศเกาหลีได้ผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า ก่อนจากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก แต่ตอนที่เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้านี้มักไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เนื่องจากเสียเปรียบโดยเปรียบเทียบแก่ประเทศที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก อีกทั้งการผลิตเพื่อการทดแทนการนำเข้านี้ตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศได้ค่อนข้างจำกัด ต่อมาจึงมีนโยบายการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มตลาดจึงมากขึ้นทำให้มีeconomies of scaleเกิดขึ้น และประเทศเกาหลีได้ใช้นโยบายทางการทูตในการเจรจาเพื่อส่งเสริมการส่งออก
การปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน
ประเทศเกาหลีใต้มีการจัดตั้งกรรมาธิการที่ปรึกษาสถาบันการเงิน ทำหน้าที่ในการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดสรรการลงทุน และลดจุดอ่อนที่จะนำปัญหามาสู่ตลาดเงินในช่วงปฏิรูปสถาบันการเงิน ทางภาครัฐบาลได้สั่งปิดสถาบันการเงินย่อยๆที่ทำงานไร้ประสิทธิภาพสาเหตุที่ต้องมีการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเนื่องมาจากมีการเปิดเสรีทางการเงิน และใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรี ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะทำให้สถาบันการเงินเสียหายมากหากไม่ได้มีการจัดการที่ดี อีกทั้งมีการเปิดเสรีทางด้านตลาดทุนทำให้นักลงทุนมีทางเลือกที่จะเลือกแหล่งเงินทุนมากยิ่งขึ้นถ้าไม่มีการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินบทบาทของสถาบันการเงินอาจมีน้อยลง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่มักอยู่ในอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งมักจะเลือกหาแหล่งเงินทุนจากตลาดทุนมากว่าผ่านธุรกรรมจากสถาบันการเงิน
การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเทศเกาหลีใต้ได้ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยในปี1966มีการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลี และในปี1967มีการจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยในช่วงแรกประเทศเกาหลีได้รับความรู้จากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ ในเวลาต่อมาจึงมีนโยบายการวางแผนการลงทุนวิจัยและพัฒนาทั้งในภาครัฐและเอกชน ต่อมาจึงมีการจัดตั้งสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อกำหนดแผนระยะยาวในการวิจัย ซึ่งประเทศเกาหลีได้สนับสนุนการวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การคิดค้นอุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากนานาชาติ

Similar Documents

Premium Essay

Economics

...Economics is the social science that analyzes the production, distribution, and consumption of goods and services. The term economics comes from the Ancient Greek οἰκονομία (oikonomia, "management of a household, administration") from οἶκος (oikos, "house") + νόμος (nomos, "custom" or "law"), hence "rules of the house(hold)".[1] Political economy was the earlier name for the subject, but economists in the late 19th century suggested "economics" as a shorter term for "economic science" that also avoided a narrow political-interest connotation and as similar in form to "mathematics", "ethics", and so forth.[2] A focus of the subject is how economic agents behave or interact and how economies work. Consistent with this, a primary textbook distinction is between microeconomics and macroeconomics. Microeconomics examines the behavior of basic elements in the economy, including individual agents (such as households and firms or as buyers and sellers) and markets, and their interactions. Macroeconomics analyzes the entire economy and issues affecting it, including unemployment, inflation, economic growth, and monetary and fiscal policy. Other broad distinctions include those between positive economics (describing "what is") and normative economics (advocating "what ought to be"); between economic theory and applied economics; between rational and behavioral economics; and between mainstream economics (more "orthodox" and dealing with the "rationality-individualism-equilibrium nexus")...

Words: 290 - Pages: 2

Free Essay

Economics

...What is Econometrics? Econometrics is a rapidly developing branch of economics which, broadly speaking, aims to give empirical content to economic relations. The term ‘econometrics’ appears to have been first used by Pawel Ciompa as early as 1910; although it is Ragnar Frisch, one of the founders of the Econometric Society, who should be given the credit for coining the term, and for establishing it as a subject in the sense in which it is known today (see Frisch, 1936, p. 95). Econometrics can be defined generally as ‘the application of mathematics and statistical methods to the analysis of economic data’, or more precisely in the words of Samuelson, Koopmans and Stone (1954), ... as the quantitative analysis of actual economic phenomena based on the concurrent development of theory and observation, related by appropriate methods of inference (p. 142). Other similar descriptions of what econometrics entails can be found in the preface or the introduction to most texts in econometrics. Malinvaud (1966), for example, interprets econometrics broadly to include ‘every application of mathematics or of statistical methods to the study of economic phenomena’. Christ (1966) takes the objective of econometrics to be ‘the production of quantitative economic statements that either explain the behaviour of variables we have already seen, or forecast (i.e. predict) behaviour that we have not yet seen, or both’. Chow (1983) in a more recent textbook succinctly defines econometrics ‘as...

Words: 736 - Pages: 3

Premium Essay

Economics

...Economics is the social science that analyzes the production, distribution, and consumption of goods and services. Economics explains how people interact within markets to get what they want or accomplish certain goals. An economy exists for two basic reasons, firstly, human wants for goods and services are unlimited and secondly, productive resources with which to produce goods and services are scarce. An economy has to decide how to use its scarce resources to obtain the maximum possible satisfaction of the members of the society. Economics is studied so you can become a well-informed citizen. Political and social leaders often develop policies that have broad economic effects. International relations are also dominated by economic concerns. Economic knowledge is needed if you are to understand the effects of taxation, unemployment, inflation, welfare, economic growth, exchange rates, or productivity. We also study economics because it helps the individual make more informed decisions. Consumers, workers, and investors usually make wiser choices if they understand the likely economic effects of the choice to be made. Business executives have more insight for making decisions if they understand how the economy works and the likely effects of economic conditions on a business. Hypotheses are propositions that are tested and used to develop economic theories. Highly reliable theories are called principles or laws. Theories, principles, and laws are meaningful statements...

Words: 259 - Pages: 2

Premium Essay

Economics

...MAIN TOPICS OF MICRO ECONOMICS I. BASIC CONCEPTS OF ECONOMICS 1. Nature and Scope of Economics 2. Some Basic Concepts 3. Methodological Issues in Economics 4. Methods Laws and Assumptions in Economic Theory 5. Economic Models 6. Production Possibility Curve and Circular Flow of Economic Activity 7. Economic Statics and Dynamics 8. Economy Its Vital Processes and Basic Problems 9. Economic Systems 10. Price System and Mechanism 11. Equilibrium 2. CONSUMPTION THEORY 1. Neo-Classical Utility Analysis 2. Demand and its Law 3. Indifference Curve Theory 4. The Concept of Consumer’s Surplus 5. The Revealed preference theory of demand 6. Elasticity of Demand 3. PRODUCTION THEORY 1. Factors of Production 2. Characteristics of Land and Labour 3. Theories of Population 4. Division of Labour and Machinery 5. Capital and Capital Formation 6. Localisation of Industries 7. Scale of Production 8. Types of Business Units 9. Organisation 10. Laws of Returns : The Traditional Approach 11. Laws of Returns : The Isoquant and Isocost Approach 4. PRODUCT PRICING 1. Nature of Costs and Cost Curves 2. Market Structures 3. The Concept of Revenue 4. Supply – Its Law, Elasticity and Curves 5. Equilibrium of Firm and Industry Under Perfect Competition 6. Pricing under Perfect Competition – Demand and Supply 7. Applications of Demand and Supply Analysis under Perfect Competition 8. Joint Demand and Supply 9. Monopoly 10. Monopsony and Bilateral Competition ...

Words: 326 - Pages: 2

Free Essay

Economic

...Thesis Economics Thesis The goal of an economics thesis is to solve a problem regarding the exchange of goods and services in an innovative way. To this end, the student may explore macroeconomics, the study of large economics systems, or microeconomics, the study of person-to-person exchanges of goods and services, in a completely unique manner or in a manner that simply expands on or addresses previous ideas. Students who are struggling to develop ideas for their economics theses may benefit from asking themselves what problems they have a passion for solving. For example, perhaps the student feels greatly irritated about gas prices and could develop an idea on how to cut costs. Perhaps the student has a fascination with the failure of communism and would like to develop a thesis on where the economic system went wrong and why. If the student cannot identify a topic that would produce a viable economics thesis, he or she should talk with the major professor and see if together they can brainstorm a usable idea. Economics theses may have concerns that most disciplines do not have, particularly in formatting. Because pictures can carry a great deal of information in a much more succinct way than text and because economics theses often handle highly complex issues, writers of economics theses may find it useful to include a number of charts, graphs, and tables both in appendices and in the body of the thesis itself. Depending on the complexity of those graphics, the student...

Words: 344 - Pages: 2

Premium Essay

Economics

...classified and analyzed. The first studies on the economic impact of port activity emerged in the United States in the second half of the 1960s. The ports of New York and New Jersey were the first to be taken into consideration. In the 1970s, the first methodological discussions took place, based on the development of the input–output model and its application to the measurement of the impact of ports. The main stances opposing this kind of study were advocated by Robert C. Waters, while those in favour had Semoon Chang as their main champion, and most of Waters’ criticisms were dealt with. 1. PORT ECONOMIC IMPACTS Ports contribute much to their economies, and port economic impact analysis is the major tool for documenting those contributions. The primary objective of port impact studies is to inform the public of the importance of port services, and additional benefits that may exist vary with particular studies. And also, the decision of local governmental agencies to construct port facilities is often preceded by a port economic impact study. The majority of existing port impact studies begin with definitions of port impacts, as an improper notion of port impact might well lead to an entirely wrong estimation of the total economic impact of a port. One of the major challenges in port impact studies is to identify the port-related industries and find out the degree of port dependency of these industries. Generally, economic impacts of port on the local economy can be divided...

Words: 5423 - Pages: 22

Premium Essay

Economics

...ECON3007 Economic Policy Analysis Topic: Institutions and Economic Reforms Wendy Carlin This topic focuses on the role of institutions in economic growth and the implications of this for the design of economic reforms. We examine why some large-scale economic reforms have been surprisingly successful and others have been disappointing. It will be argued that the consistency between existing institutions in the economy and the reforms is an important factor in determining reform success. We look at property rights and contracting institutions, at the experience of transition economies – both in the former Soviet bloc and China and at reform policies including privatization. The empirical techniques that we study include cross-sectional and panel regressions using aggregate (i.e. country-level) data and micro-economic data. Key readings: Institutions and growth: Acemoglu, D., Johnson, S. and Robinson, J. A. (2001) (AJR) “The Colonial Origins of Comparative Development: An Empirical Investigation”. The American Economic Review, Volume 91, Number 5. Use the UCL Economic Journals page and choose the Atypon link. Acemoglu, D., Johnson, S. (2005) (AJ) “Unbundling Institutions” Journal of Political Economy Volume 113, Number 5, 949-995. Use the UCL Economic Journals page. Deaton, A. (2009) ‘Instruments of Development: Randomization in the Tropics and the Search for the Elusive Keys to Economic Development’. NBER Working Paper 14690. Use google. Transition: China and Russia ...

Words: 1359 - Pages: 6

Premium Essay

Economics

...stirred up a massive cause for debate, and for the correct reason. The decision the English citizen is going to comprehend is crucial for the welfare for the English economy, and is known to be the ‘’most important decision you’ll make in a generation’’ As quoted by George Osbourne, Chancellor of the Exchequer, in an article about foreign relations with Brussels. It is a very important decision to the English taxpayer, but is equally important for the British economy, but I think, is arguably most important for the small or large, private or public, English Business. The English economy is growing by 1.5% per annum, this is not enough. Compared to foreign relations such as China, with a G.D.P growth rate or economic growth rate of nearly 9% a year, China has a faster economic growth rate by 6x. Now what do these numerical figures mean in contrast to leaving the EU? Well, whether or not to leave the EU has a massive effect on our economy, influenced by trade. But how does this correlate to affecting British businesses? Well a faster, well protected economy will allow businesses to run faster, trade faster, produce faster, and become efficient, which...

Words: 788 - Pages: 4

Premium Essay

Economic

...Economic Decisions Individuals and societies alike face many decisions. Individuals tend to make economic decisions when faced with trade-offs, and because of that, individuals are required to compare costs and benefits of their alternative actions referred to as the opportunity cost. Rational individuals tend to think of marginal change during the process of decision-making, and therefore, may respond differently to incentives whilst making economic decisions. This paper discusses the four principles of economics, a decision associated with marginal change, the incentive(s) that could lead to making different decision, and finally, how the principles of economics affect decision-making, interaction and the workings of the economy as whole. The Principles of Economics A trade-off is often referred to as the “technique of reducing or forgoing one or more desirable outcomes in exchange for increasing or obtaining other desirable outcomes to maximize the total return or effectiveness under given circumstances.” (BusinessDictionary.com, 2009) In brief, individuals choose something over something else, or give up something in order to get something else. Whatever “it” is that individuals sacrifice in order to get something, is generally “its” cost, and cost is often linked and associated with money, an opportunity cost however, could be the cost of anything i.e. time or health sacrificed in order to get something. Marginal changes are incremental adjustments individuals make...

Words: 853 - Pages: 4

Premium Essay

Economics

...single monopoly and share production and profit. However, if this price-fixing game is repeated indefinitely, it would come to a moment that one firm cheats on their collusive agreement. If the cheater cuts its price and the complier remains the agreed price. As shown in the figure, for the complier, ATC now exceeds price and for the cheater, the price exceeds ATC. The industry output is larger than the monopoly output and the industry price is lower than the monopoly price. The total economic profit made by the industry is also smaller than the monopoly’s economic profit. Therefore the complier incurs an economic loss while the cheater gains economic profit. If since both firms have an incentive to cheat as long as price exceeds marginal cost. In this price-fixing game, it will occur a situation that both firms cheat. If both firms produce more cigarettes than the number agreed, the industry output will be increased, the price of cigarettes will fall and both firms makes zero economic profit, as shown in the figure. -In monopolistic competition a company in the short run, makes its output and price decision just like a monopoly company does. The following figure illustrates the monopolistic competition in the short run. As you can see, when the marginal revenue equals its marginal cost (MR = MC), the firm charges the highest price (P) that buyers are willing to pay for this quantity, which is highly higher than the average total cost (ATC). Therefore the firm makes...

Words: 620 - Pages: 3

Premium Essay

Economics

...RESOURCE | 1 ECONOMICS RESOURCE | 1 ECONOMICS 2009-10: FUNDAMENTALS OF ECONOMIC THINKING Table of Contents Preface to the Economics Resource .................................................................................. 5 Fundamentals of Economics ............................................................................................ 7 The Basic Economic Problem—Scarcity ............................................................................................ 8 Production of Goods and Services .................................................................................................... 10 Increasing Costs ............................................................................................................................... 12 The Factors of Production ............................................................................................................... 14 Benefit-Cost Analysis – Marginal Decision-Making ......................................................................... 15 Marginal Utility and Waffles ............................................................................................................ 17 More on Marginal Utility and the Effect of Prices ............................................................................ 19 Individual and Social Goals .............................................................................................................. 20 Positive and Normative Economics .................

Words: 65448 - Pages: 262

Free Essay

Economics

...elderly population is twice what it is today. Much of this growth will be prompted by the aging of the Baby Boomers, who in 2030 will be aged 66 to 84—the “young old”—and will number 61 million people. In addition to the Baby Boomers, those born prior to 1946—the “oldest old”—will number 9million people in 2030. This paper assesses the economic dimensions of the 2030 problem. The first half of the paper reviews the literature and logic that suggest that aging in general, and long-term care services in particular, will represent an overwhelming economic burden on society by 2030. Then, a new analysis of burden is presented to suggest that aggregate resources should not be a major issue for the midcentury economy. Finally, the paper presents four key challenges that represent the real economic burden of long-term care in the twenty-first century. These challenges are significant but different from macro cost issues. What type of economic burden might be considered overwhelming? Existing literature never explicitly defines this but the sense is that the burden might be considered overwhelming if: (a) tax rates need to be raised dramatically, (b) economic growth is retarded due to high service costs that preclude other social investments, or (c) the general well-being of future generations of workers is worse than that of current workers due to service costs and income transfers. The discussion has significant implications for public policy and for private actors focused on developing...

Words: 373 - Pages: 2

Free Essay

Economics

...Scarcity & Opportunity Cost Economics is a very important field of study in modern society. It helps us to understand the choices we have to make to satisfy our unlimited wants and needs to have a better life. Microeconomics is the study of households, firms, and government in specific markets. One of the main problems economics tries to address is scarcity. Scarcity is the term economist use to describe a situation when the amount of something available is not sufficient to satisfy the desire or demand for it. Scarcity can be applied to all aspects of economics and is one of the most crucial points to understand. Because we are consumers in a free market, we live on income constraints or budgets. Limited income forces us to make choices about goods and services we will purchase, as well as goods and services we will forgo. As a society, we also experience scarcity. Societies face scarce economic resources. Economist classify these economic resources into four categories: land, labor, capital, and entrepreneurial ability. Land is considered to be not only physical land but also water, oil, wind, and all other natural resources. Labor would be described as not only the workforce, but the quality of the workers in the workforce. Capital is the facilities, tools, machinery, and any other components that go into manufacturing a good. Entrepreneurial ability is outlined by the people who exploit opportunities in markets. Entrepreneurs combine economic resources with creative and...

Words: 657 - Pages: 3

Premium Essay

Economic

...Economics’ Approach to Financial Planning by Laurence J. Kotlikoff, Ph.D.  |Executive Summary | |Economists long have shown that when it comes to consuming lifetime economic resources, households seek to neither splurge nor hoard, but | |rather to achieve a smooth living standard over time. Consumption smoothing not only underlies the economics approach to spending and | |saving, it is central to the field’s analysis of insurance decisions and portfolio choice. | |Smoothing a household's living standard requires using a sophisticated mathematical technique called dynamic programming to solve a number | |of difficult and interconnected problems. Advances in dynamic programming coupled with today's computers are permitting economists to move | |from describing financial problems to prescribing financial solutions. | |Conventional planning’s targeted liability approach has some surface similarities to consumption smoothing. But the method used to find | |retirement- and survivor-spending targets is virtually guaranteed to disrupt, rather than smooth, a household’s living standard as it ages.| |Moreover, even very small targeting mistakes will suffice to produce major consumption disruption for the simple reason that the wrong...

Words: 6625 - Pages: 27

Premium Essay

Economics

...HW assignment 4 (Week9): Analysis of the Business Cycle. The main objective of this exercise is to get students thinking analytically and creatively about the two-edged nature of many economic phenomena so as to present a “balanced” perspective based on economics principles, theories and concepts against the backdrop of conceptual and analytical thinking. Visit the web sites or similar ones containing national economic data. National Economic Accounts at the Bureau of Labor Statistics at http://www.bea.gov , Bureau of Labor Statistics at http://www.bls.gov/data/, The Conference Board at http://www.conference-board.org/economics/indicators.cfm, US Census Bureau at http://www.census.gov/mtis/www/mtis_current.html, National Bureau of Economic Research at http://www.nber.org/releases/, The Federal Reserve at http://www.federalreserve.gov/releases/h15/update/ Review the most recent 8 – 12 months of data on real GDP growth, inflation/CPI, unemployment, Interest rates, consumer confidence index, consumer sentiment index, inventory level, and other relevant economic data. Based on the collected data, analyze the current macroeconomic situation and its impact on any two(2) Monopolistically competitive firms of your choice. Explore in particular how the two companies’ respond to the macroeconomic conditions in terms of their: • stock performance, • current and future sales revenue, • current and future profits, • labor costs, and • hiring decisions. Your paper should...

Words: 377 - Pages: 2